วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงพ่อขุนผาเมือง

เนื้อร้อง / ทำนอง ประเสิรฺฐ สร้อยอินทร์
ขับร้อง ยอดรัก สลักใจ

อุ้มพระดำน้ำประเพณีหนึ่งเดียวในโลก

ระหว่างพระนางสิงขรมหาเทวี จุดไฟเผาเมืองราดนั้น ได้มีข้าราชบริพารส่วน

นครบาลเพชรบูรณ์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒

เมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ

เมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพตั้งอยู่ในเขต อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นชุมชนโบราณ มีอายุประมาณ 2,000 ปี มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีหลักฐานแห่งความเจริญมากมาย ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เทวรูป พระพุทธรูป ซึ่งเป็นศิลปสมัยทวาราวดี มีทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ตัวเมืองมีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตี เมืองศรีเทพเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองคือ พ่อขุนผาเมืองมีพระราชประสงค์จะยกทัพเข้าตีเมืองศรีเทพเพื่อขับไล่ขอมไม่ให้มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้แต่บังเอิญพระราชบิดา คือพ่อขุนศรีนาวนัมถมสวรรคตเสียก่อน พ่อขุนผาเมืองจึงจำเป็นต้องยกทัพไปกู้เมืองสุโขทัยไว้ ณ เมืองศรีเทพนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทำพิธีหล่อพระพุทธรูปศิลปลพบุรีที่มีชื่อภายหลังว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” มอบให้แก่พ่อขุนผาเมืองไว้เป็นพระประจำพระองค์ ปัจจุบันนี้พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์

ร่องรอยเมืองราด

เมืองราดตั้งอยู่ที่บ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่องรอยต่างๆ ที่เหลืออยู่คือเจดีย์พ่อขุนผาเมือง เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่พ่อขุนผาเมืองก่อสร้างไว้ เป็นอนุสรณ์แก่พระองค์ท่าน ข้างเจดีย์มีต้นลั่นทมขนาดใหญ่เคียงข้างอยู่ชาวบ้านเรียกกันว่าลั่นทมพันปี มีเรื่องเล่าตอทอดกันมาว่า พ่อขุนผาเมืองเป็นผู้ปลูกลั่นทมนี้ไว้ยุคนั้น ชาวบ้านเรียกลั่นทมว่า “จำปาขาว” ห่างจากเจดีย์ใหญ่ไม่มากนักมีเจดีย์ขนาดเล็กที่สร้างในยุคเดียวกันอีกองค์หนึ่งปัจจุบันเจดีย์ทั้งสองนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ราษฎรได้ช่วยกันบูรณะไว้ ปัจจุบันนี้บริเวณนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนพ่อขุนผาเมืองอุปถัมภ์เจดีย์พระนางสิงขรเป็นเจดีย์เก่าแก่ยุคเดียวกันกับเจดีย์พ่อขุนผาเมืองสร้างเป็นอนุสรณ์แก่พระนางสิงขร ตั้งอยู่บริเวณวัดโพนชัย ห่างจากเจดีย์พ่อขุนผาเมืองไม่มากนัก ขณะนี้เจดีย์องค์นี้ทรุดโทรมมากข้าวสารดำใกล้กับเจดีย์พระนางสิงขรเป็นบริเวณที่พบแหล่งข้าวสารดำ ซึ่งกระจัดกระจายเกลื่อนกลาดอยู่อยู่ในพื้นดิน เมื่อฝนตกหนักชะล้างผิวดิน ข้าวสาดำก็จะผุดขึ้นมาลักษณะเหมือนข้าวสารที่ใช้บริโภคทุกอย่าง แต่เป็นสีดำถ้าใช้มือบีบแรงๆก็จะเป็นผงคล้ายผงถ่านสีดำสนิท ข้าวสารดำนี้ชาวบ้านได้เล่าเป็นตำนานตกทอดกันมาเป็นสองนัยนัยแรก ได้เล่าว่า เมื่อนางสิงขรมหาเทวีเผาเมืองราดนั้น ข้าวสารในพระคลังที่เก็บไว้บริโภค ถูกไฟไหม้จนดำเกรียมและหล่นกระจัดกระจายอยู่บนพื้นดิน การหาข้าวสารดำหาง่ายกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ทั่วไปเป็นที่ประหลาดนักนัยที่สอง เล่าตกทอดกันว่า ข้าวสารดำนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว พ่อขุนผาเมืองถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ เมื่อจะออกศึกครั้งใดพ่อขุนผาเมืองจะนำข้าวสารดำนี้มาปลุกเสกและโปรยเหมือนหว่ายทรายใส่กองทัพ แทนน้ำมนต์เพื่อเป็นกำลังใจและใช้เป็นของขลังในการออกศึก ทางนักธรณีวิทยาบอกว่าข้าวสารดำเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง มีอายุราวสองร้อยล้านปีขึ้นไปเป็นของหายาก มักจะอยู่ในหินปูน แต่ข้าวสารดำเมืองราดหล่นเกลื่อนกลาดอยู่บ้านพื้นดินและบี้ด้วยมือเบาๆ ก็ป่นกลายเป็นผงถ่านแปลกยิ่งนักอุโมงค์พ่อขุนผาเมืองพ่อขุนผาเมืองได้ขุดอุโมงค์ใต้ดินเป็นที่หลบซ่อน เป็นเส้นทางเข้าออกในการโจมตีข้าศึกและการหาข่าว ปัจจบันดินได้พังทลายทับอุโมงค์หมดแล้ว ยังเหลือร่องรอยไว้สำหรับศึกษา ซึ่งชาวบ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวายรู้จักกันเป็นอย่างดี การใช้อุโมงค์เป็นเส้นทางเข้าออกนี้ในยุคสุโขทัยกลายเป็นตำนานเรื่องขอมดำดิน เป็นที่ครั่นคร้ามของคนยิ่งนักคันดินและกำแพงเมืองในยุคพ่อขุนผาเมืองย้ายเมืองนครเดิดมาสร้างเมืองราดนั้น เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างศึกสงคราม การสร้างบ้านแปงเมืองคงใช้คันคูดินเป็นแนวป้องกันข้าศึก พ่อขุนผาเมืองได้สร้งกำแพงด้วยอิฐไว้บางส่วน แต่น่าเสียดายที่ซากก้อนอิฐที่หักพังชาวบ้านได้นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเสียสิ้นนครเดิดขณะนี้ได้ค้นพบคันคูเมือง กำแพงเมืองนครเดิที่ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสักถึง 4 แห่ง บางส่วนยังจมอยู่ในดิน กรมศิลปากรยังไม่ได้สำรวจขุดค้นอย่างจริงจังโบราณวัตถุบริเวณบ้านห้วยโป่ง มีผู้คนขุดพบเครื่องใช้สมัยสุโขทัยจำนวนไม่น้อย แต่ไม่มีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้เมืองศรีเทพเมืองศรีเทพตั้งอยู่ในเขต อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นชุมชนโบราณ มีอายุประมาณ 2,000 ปี มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีหลักฐานแห่งความเจริญมากมาย ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เทวรูป พระพุทธรูป ซึ่งเป็นศิลปสมัยทวาราวดี มีทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ตัวเมืองมีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตี เมืองศรีเทพเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองคือ พ่อขุนผาเมืองมีพระราชประสงค์จะยกทัพเข้าตีเมืองศรีเทพเพื่อขับไล่ขอมไม่ให้มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้แต่บังเอิญพระราชบิดา คือพ่อขุนศรีนาวนัมถมสวรรคตเสียก่อน พ่อขุนผาเมืองจึงจำเป็นต้องยกทัพไปกู้เมืองสุโขทัยไว้ ณ เมืองศรีเทพนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทำพิธีหล่อพระพุทธรูปศิลปลพบุรีที่มีชื่อภายหลังว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” มอบให้แก่พ่อขุนผาเมืองไว้เป็นพระประจำพระองค์ ปัจจุบันนี้พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์

พ่อขุนผาเมืองเสด็จไปเชียงแสน

เรื่องราวของพ่อขุนผาเมืองที่หายไป จากตำนานของเมืองหล่มสักเพชรบูรณ์นั้น กลับไปปรากฏขึ้นอีกครั้งที่เมืองเชียงแสน ตามข้อเขียนของดร.เอมอร (ไชยชาญ) สจ๊วตในหนังสือตำนานพระธาตุจอมกิตติ เป็นตำนานที่คนเฒ่าคนแก่โบราณของเมืองเชียงแสนได้เล่าต่อกันมาถึงผลงานของพ่อขุนผาเมืองกล่าวคือ เมื่อท่านสถาปนาอาณาจักรไทยแล้วได้เสด็จจากเมืองราดขึ้นมาที่เชียงแสน เป็นช่วงที่เมืองเชียงแสนตกอับไม่มีเจ้าผู้ครองนครและไม่มีเมืองสำคัญอีกแล้วบ้านเมืองทรุดโทรมขาดการดูแลความเจริญทั้งหลายไปตกอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ พ่อขุนผาเมืองใช้ชีวิตอยู่เมืองเชียงแสนอย่างเรียบๆ ด้วยความเสียสละทุกอย่าง สิ่งที่พระองค์ท่านต้องการเห็นราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นร่มเย็นเป็นสุข แม้กระนั้นประชาชนชาวเมืองเชียงแสนก็ยังยกให้ท่านเป็นผู้ครองเมืองเชียงแสนต่อไป เมื่อพ่อขุนผาเมืองครองเมืองได้ 3 ปี ได้ทรงให้ช่างต่อฐานพระธาตุจอมกิตติซึ่งเดิมยาวด้านละ 6 เมตรเป็นยาวด้านละ 7 เมตรและเสริมยอดพระธาตุเสียใหม่โดยเพิ่มเหนือหอระฆังเป็นรูปกลับมะเฟืองหรือ “ปลี”สัญลักษณ์ของพระมหามงกฎกษัตริย์ไทยสมัยนั้น เพิ่มลูกแก้วด้านบนของพระมหามงกฎอีก 1 ลูก นอกจากนี้ ยังได้ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นบรรจุไว้ในพระธาตุจอมกิตติอีก จำนวนถึง 13 องค์ ดังนั้นพระธาตุจอมกิตติจึงมีพระบรมธาตุบรรจุอยู่ถึง 24 องค์ นอกจากพ่อขุนผาเมืองได้มาบูรณะพระธาตุจอมกิตติแล้ว พระองค์ก็ยังมีพระราชประสงค์จะทำให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีการป้องกันอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับขอม ได้นำราษฎรที่ไว้วางใจขุดอุโมงค์ลับจากพระธาตุจอมกิตติลึกลงไปในดิน อุโมงค์แยกออกเป็นหลายทาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบข่าว ส่งกำลัง และหลบภัยจากข้าศึก การขุดอุโมงค์ลักษณะนี้ พระองค์ได้ทำไว้ในทำนองเดียวกันกับที่เมืองราด ซึ่งยังเหลือร่องรอยไว้ให้ศึกษาอยู่บ้าง พระองค์ใช้เวลาสร้างอยู่นานเท่าไรไม่มีใครทราบเพราะเรื่องนี้เป็นความลับสุดยอดในสมัยนั้น จึงไม่มีใครเล่าได้ละเอียด ในช่วงที่พ่อขุนผาเมืองอยู่ที่เมืองเชียงแสน บ้านเมืองสงบสุข กรุงสุโขทัยเริ่มเจริญรุ่งเรือง อำนาจของอ่อนลง การศึกสงครามเมืองเชียงแสนจึงไม่มี แต่น่าเสียดายพ่อขุนผาเมืองมีพระชนม์ชีพไม่ยืนยาวนัก พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาเพียง 40 พรรษาฝากไว้แต่ชื่อเสียงเกียรติยศและความเสียสละอันสำคัญยิ่ง นับเป็นตัวอย่างอันดีแก่คนไทยทั้งปวง พ่อขุนผาเมืองนักรบผู้เสียสละ

ศึกภายใน

หลังจากได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางท่าวและพระนางเสืองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้รวบรวมไพร่พลยกทัพกลับเมืองราด เมืองที่พระองค์มุ่งหวังจะได้สร้างบ้านแปงเมืองให้เป็นที่อยู่ของพระองค์จนสิ้นอายุไข แต่เมื่อกลับถึงเมืองราด ความทราบถึงพระนางสิงขรมหาเทวี พระนางทรงพิโรธพ่อขุนผาเมืองเป็นอย่างมาก ตัดพ้อหาว่าทรยศต่อพระราชบิดา (พระเจ้าชัยวรมันที่ 7) และรบเร้าให้พ่อขุนผาเมืองยกทัพกลับไปตีเมืองสุโขทัยคืนมา พ่อขุนผาเมืองมิยินยอมไม่ว่าพระนางสิงขรจะอ้อนวอนอย่างไร สร้างความโกรธเคืองแก่พระนางอย่างยิ่ง ฤทธิโกรธนั้นรุนแรงนัก บวกกับความน้อยพระทัย พระนางสิงขรจึงตัดสินใจจุดไฟเผาเมืองราดจนไหม้เป็นจุลและหนีไปกลั้นใจโดดน้ำฆ่าตัวตายที่แม่น้ำสัก หลังจากที่ได้จัดการพระศพของพระมเหสีเสร็จเรียบร้อยแล้วพ่อขุนผาเมืองไม่คิดที่จะทำนุบำรุงเมืองราดขึ้นมากีก ตามตำนานพื้นบ้านซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเล่าขานตกทอดมาว่า พระองค์ได้เสด็จออกจากเมืองราดขึ้นไปทางเหนือกับพระนางเนาวรงค์เทวีมเหสีของพระองค์ที่เป็นคนไทยจากนั้นมาก็ไม่มีใครทราบเรื่องราวของพระองค์ท่านอีกเลย

ศึกชิงเมืองสุโขทัย

พุทธศักราชที่ ๑๗๗๘ พ่อขุนศรีนาวนัมถมเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นพระชนม์ เมืองสุโขทัยระส่ำระสายขาดผู้นำ จึงทำให้ขอม "สบาดโขลญลำพง" ยกกองทัพเข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย ทั้งสุโขทัยและศรีสัชนาลัย จึงตกอยู่ในอำนาจของขอมอีกครั้งหนึ่ง สร้างความเจ็บแค้นให้กับคนไทยในขณะนั้นอย่างยิ่ง
ความทราบไปถึงพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางท่าว ทั้งสองพระองค์มีความโกรธแค้นเป็นอย่างมาก ถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะต้องประกาศสงครามกับขอมสบาดโขลญลำพง และพวกขอมทุกคนเพื่อเอาเมืองสุโขทัยคืนมา
พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบากลางท่าว ติดต่อกันทางม้าเร็ว วางแผนกันอย่างแยบยล แล้วกองทัพของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด กับ กองทัพพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง จึงได้เคลื่อนทัพออกจากเมืองทั้งสองแห่ง โดยมุ่งเข้าตีเมืองศรีสัชนาลัยเป็นปฐมฤกษ์
ก่อนที่พ่อขุนผาเมืองจะยกทัพออกจากเมืองราด พระองค์มีปัญหากับพระมเหสีคือพระนางสิงขร กล่าวคือ พระนางสิงขรทัดทานไม่ให้พ่อขุนผาเมืองยกทัพไปรบกับกองทัพขอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบิดา แต่พ่อขุนผาเมืองไม่ยอมมุ่งมั่นที่จะสร้างอาณาจักรไทยให้จงได้
กองทัพของพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางท่าว เคลื่อนเข้าตีเมืองศรีสัชนาลัยด้วยความสามารถ ซึ่งไม่นานก็สามารถยึดเมืองศรีสัชนาลัยยได้ ขอมสบาดโขลญลำพง จึงยกทัพออกจากสุโขทัย เพื่อต่อสู้กับพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวว สองพ่อขุนได้วางแผนการรบไว้อย่างเยี่ยมยอด โดยแกล้งทรงช้างร่วมเชื่องเดียวกันขี่เลียบเมืองเพื่อให้ขอมตายใจว่า ทั้งสองพระองค์อยู่ร่วมรบด้วยกันในเมืองศรีสัชนาลัย
จากนั้นพ่อขุนผาเมือง ได้ยกทัพลอบออกจากเมืองศรีสัชนาลัยตอนกลางคืนซุ่มทัพรออยู่กลางป่า จนได้รับสัญญาณจากม้าเร็วของพ่อขุนบางกลางท่าว ที่ล่อให้ขอมสบาดโขลญลำพงเข้าตีเมืองศรีสัชนาลัย แล้วพ่อขุนผาเมืองจึงยกทัพตลบหลังเข้าตีเมืองสุโทย และยึด

พ่อขุนผาเมืองน้กรบผู้เสียสละแห่งเมืองราด

การฝึกอาวุธและสร้างกองทัพให้เข้มแข็งของพ่อขุนผาเมืองนั้น พระองค์มีเป้าหมายคือ การขับไล่ขอมออกจากดินแดนของราชอาณาจักรไทย และได้วางแผนที่จะตีนครเดิด เมืองสำคัญของขอมที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสักทางทิศตะวันออกของกรุงสุโขทัยไม่ห่างจากกรุงสุโขทัยมากนัก(นครเดิด ปัจจุบันคือ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์)นครเดิดเป็นหัวเมืองด้านเหนือของขอม ที่แผ่อำนาจไปถึงนครโยนกเชียงแสน พ่อขุนผาเมืองพิจารณาแล้วว่า ถ้าไม่ตีนครเดิดเสียก่อนต่อไปจะเป็นอันตรายต่อกรุงสุโขทัย
ดั้งนั้น พ่อขุนผาเมืองจีงได้ยกทัพออกจากกรุงสุโขทัย ขึ้นเขาผ่านมาทางเมืองบางยาง (อ.นครไทย ในปัจจับัน ) ผ่านเขตเขาค้อ (อ.เข้าค้อ) เข้าสู่นครเดิด ( อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์) พ่อขุนผาเมืองใช้เวลาโจมตีนครเดิดอยู่ไม่นานนัก ก็สามารถยึดนครเดิดได้ พวกขอมถอยร่นหนีออกไปทางทิศตะวันออก พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพตามขอมไปจนถึงเขตอำเภอด่านซ้ายติดกับภูเรือ และได้ไปพักทัพอยู่ที่นั่น
พ่อขุนผาเมืองได้พิจารณาเห็นว่า ได้ยกทัพขับไล่ขอมมาไกลและนานพอสมควรแล้ว จึงยกทัพกลับเข้าสู่นครเดิด จัดการทำนุบำรุง และสร้างเป็นเมืองอยู่อาศัยของพระองค์ และบริวาร นครเดิดนั้นมีกำแพงเมืองติดกับแม่น้ำป่าสัก ถึงฤดูฝนบางปีน้ำในแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่ง ทะลุกำแพงเข้าไปท่วมในเขตเมือง ทำให้ราษฦรมีความยากลำบากในการทำมาหากิน ไร่น่าเสียหาย พ่อขุนผาเมืองได้พิจารณนาเห็นว่า ที่ดินบริเวณบ้านห้วยโป่ง ต.บ้านโสก อ.หล่มสัก เป็นที่ดินลาดสูงน้ำไม่ท่วม จึงได้ไปสร้างคุ้มของพระองค์ท่าน และสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณนั้นพร้อมทั้งสถาปนาเมืองใหม่ขึ้น มีชื่อว่าเมือง "ลาด" หมายถึง เมืองที่มีที่ดินลาดสูงน้ำไม่ท่วมนั่เอง ต่อมาการเขียนชื่อเมืองลาดเปลี่ยนไป จากเมืองลาดเป็นเมืองราดและกลายเป็นเมืองราดในที่สุด
การตีนครเดิด และการสถาปนาเมืองราด เป็นเมืองของพ่อขุนผาเมือง ความได้ทราบไปถึง

โยนกเชียงแสน เมืองต้นตระกูลพ่อขุนผาเมือง

อาณาจักรโยนกเชียงแสนเป็นอาณาจักรใหญ่ ครอบครองดินแดนที่เป็นภาคเหนือของประุเทศไทย ในปัจุบัน ตลอดไปถึงดินแดนของแคว้นตั้งเกี๋ยของประเทศจีน และรัฐฉานตอนเหนือของเวียดนาม ทิศใต้ถึงละโว้ ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำสาละวินติดกับพม่า มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-18
ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรนี้ ทรงพระนามว่า "พญาสิงหนวัติ" เป็นเจ้าชายอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้อพยพผู้คนลงมาสร้างอาณาจักรโยนกเชียงแสนขึ้น
กษัตริย์ในราชวงศ์ "สิงหนวัติ" ปกครองนครโยนกเชียงแสนสืบมานับ 100 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช ขอมจึงมีอำนาจอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรนี้ ได้ตีนครโยนกแตก พระเจ้าพังคราชต้องอพยพผู้คนไปตั้งเมืองใหม่ ที่เวียงสีทอง และต้องส่งส่วยเป็นทองคำใ้ห้กับขอมเป็นประจำทุกปี พระเจ้าพังคราชมีพระโอรสที่มีความสามารถองค์หนึ่ง

คนไทยอพยพมาจากประเทศจีนจริงหรือไม่ ????

ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ในตำราเรียน ที่พวกเราทั้งหลายได้เล่าเรียนกันมายืนยันว่าคนไทยได้อพยพมาจากประเทศจีน โดยเฉพาะบริเวณแถบภูเขาอัลไต แต่ปัจจุบันนักวิชาการรุ่นใหม่ ได้พยายามเรียกร้องว่า คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหนแท้จริงแล้ว คนไทยอยู่บริเวณที่เป็นประเทศนี้มาช้านานแล้ว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมของไทยเป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้าน มีการสืบเชื้อสายตกทอดมาตามลักษณะของสังคมเก่าแก่อย่างแท้จริง จากการยืนยันของนักวิชาการ หรือนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ดังกล่าวแล้ว ทำให้เยาวชนรุ่นหลังเกิดความสับสนไม่แน่ใจว่าชนชาติไทยเป็นใครมาจากไหนกันแน่ กลายเป็นประเทศที่สืบเชื้่อสายไม่ชัดเจน สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับเยาวชน

ข้อเท็จจริงพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่า ถูกต้องทั้งสองประการ คือ

ประการแรก บรรพบุรุษของคนไทยส่วนใหญ่ อพยพมาจากประเทศจีนเป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน อีกทั้งนครโยนกเชียงแสน ต้นตระกูลของคนไทยดั้งเดิมนั้น นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่า อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านทางประเทศลาว และจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขณะนี้แถบมณฑลยูนนานของประเทศจีน ยังมีคนที่พูดภาษาไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นเชื้อสายของจีน จีงไม่ต้องสงสัยว่า ในอดีตมีคนไทยอยู่อาศัยแถบนั้นมาก่อน และค่อยๆ ถอยร่นลงมาทางใ้ต้ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของประเทศไทย

ประการที่สอง ณ บริเวณภาคใ้ต้ ภาคกลาง ของประเทศไทยขณะนี้ ในอดีตนั้นมีคนไทยส่วนหนึ่งอาศัยอยู่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิม การใช้ภาษาพูดแตกต่างกันอยู่บ้าง การรวมกลุ่มขาดความเข้มแข็ง ไม่มีผู้นำสำคัญที่จะรวมตัวต่อต้านอำนาจขอมได้ ต่อเมื่อพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางท่าวเ้จ้าเมืองบางยาง ได้ขับไล่ขอมออกจากสุโขทัยแล้ว และได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางท่าวขึ้นเป็นกษัตริย์แล้ว กรุงสุโขทัยจึงได้รวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่ไว้ กลายเป็นอาณาจักรของประัเทศไทย หรือสยามประเทศจนทุกวันนี้ การประดิษฐู์อักษรไทยของพระเจ้ารามคำแห่งมหาราชนั้นเป็นการเริ่มต้นของการรวมอาณาเขต ให้ใช้ภาษาเดียวกันและเป็นภาษากลางของการสื่อความหมายจนถึงปัจจุบัน

ดั้งนั้น สยามประเทศก่อนเป็นสุโขทัยนั้น จึงมิได้มีแต่เมืองสุโขทัยเพียงอย่างเดียว แต่มีคนไทยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บางกลุ่มมีอำนาจมาก เช่น นครโยนกเชียงแสนไชยปราการ และที่สำคัญก็คือ มีอิทธิพลของขอมแผ่นอำนาจไปทั่วบริเวณทิศตะวันออกของกรุงสุโขทัย จรดประเทศลาวและเขมร ซึ่งเป็นศูนย์กลางอาณาจักรสำคัญของขอม รวมทั้งดินแตนภาคอีสานของไทยทั้งหมด เรื่อยลงมาถึงนครราชสีมาเมืองศรีเทพ ( อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ) ละโว้ (จ.ลพบุรี ) เมื่อพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางท่าว มีำกำลังเข็งแข็ง อำนาจของขอมเริ่มเสื่อมลง การรวมประเทศของไทยชัดเจนขึ้น ชาวขอมดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ก็แปรสภาพมาเป็นคนไทย ประเทศไทยจึงมีอาณาเจตชัดเจนและเข้มแข็ง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ศูนย์รวมอำนาจของคนไทยดั้งเดิมนั้น อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ และเป็นเชื่อสายของคนไทยที่อพยพมาจากประเทศจีนนั่นเอง

สยามประเทศก่อนเป็นสุโขทัย

ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ถูกบันทึุกไว้ สยามประเทศเริ่มสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรครั้งแรก เมื่อพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันขับไล่ขอมออกจากสุโขทัย และสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานีโดยมีพ่อขุนบางกลางท่าวเป็นปฐมกษัตริย์องค์แรก ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากนั้นมานักประวัติศาสตร์ได้จารึกเรื่องราวของชนชาติไทยมาโดยตลอด มีหลักฐานใช้ในการศึกษาได้เป็นอย่างดี แท้ที่จริงแล้ว พัฒนาการของสังคมบ้านเมืองมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง เป็นสายธารอย่างยาวนาน แต่ไม่มีใครได้บันทึกเอาไว้ เนื่องจากยังไม่มีอักษรเป็นสื่อกลางใช้ร่วมกันอย่างแท้จริง พึ่งจะมารวบรวมและประดิษฐ์เป็นตัวอักษรใช้เผยแพร่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี่เองประวัติศาสตร์ยุคก่อนสุโขทัยจึงไม่มีใครได้บันทึกไว้ กลายเป็นห้วงอวกาศที่ขาดการเชื่อมโยงอย่างแท้จริง ความจริงก่อนสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น คนไทยได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เป็นเมืองทีี่ต่างคนต่างอยู่ บางเมืองมีการติดต่อกัน เป็นเมื่องพี่เมืองน้องเรื่องราวก่อนประวัติสุโขทัยนั้น ถ้าได้ศึกษาอย่างชัดแจ้งแล้วจะเห็นได้ว่า บรรพบุรุษของไทยนั้น ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการรวบรวมอาณาจักรน้อยใหญ่เหล่านี้ทั้งต้องเสียเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญที่สุดคือ ความตั้งใจ และความเสียสละัอันยิ่งใหญ่้ จึงสามารถรวบรวมเป็นประเทศไทยได้จนถึงปัจจุบัน

แด่พ่อขุนผาเมือง



ดินแดนแห่งเทือกเขาลำเนาป่า กรุ่นไอดินกลิ่นบุปผาพนาสูร

หนึ่งชีวิตก่อกำเนิดได้เพิ่มพูน เพชรบูรณ์คือถื่นที่ได้เกิดมา

จวบวันนี้ชีวีได้เติบใหญ่ ในหัวใจเทิดทูนพ่อขุนผา

ข้า กลับคืนเพชรบูรณ์ที่จากมา ด้วยสัญาญามอบให้พ่อขุนผาเมือง


ถวายแด่พ่อขุนผาเมือง
นิลวรรณ เพชระบูรณิน

ดิเรก ถึงฝั่ง จากใจผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ คนที่ 36


คำนำเสนอ

หนัุงสือ พ่อขุนผาเมือง วีรกษัตริย์นอกประวัติศาสตร์ เมืองราด - เพชรบูรณ์ เล่มนี้เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนออย่างสร้างสรรค์ในการปลุกจิตสำนึุกให้รักชาติ รักบ้านเมืองรักท้องถิ่น ที่เกิดของชาวเพชรบูรณ์ และคนไทยทั้งชาติ อันจะก่อให้เกิดพลังสามัคคีในการพัฒนาบ้านเมืองไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยยึดหลังสำคัญว่า หากเราไม่รู้อดีต ก็ไม่รู้ปัจจุบัน และสร้างสรรค์อนาคตไม่สำเร็จตามเป้าหมาย
เรื่อง พ่อขุนผาเมืองและเมืองราดนี้ เห็นถกเถียงกันมานานนับศตวรรษ แต่ไม่มีใครสรุปให้เป็นเรื่องชัดเจนไว้ศึกษา ชาวเพชรบูรณ์ และข้าพเจ้าจึงเห็นร่วมกันว่า จะทำหนังสือขึ้นมาสักเล่มหนึ่ง เพื่อยืนยัน และเป็นแนวทางสร้างสรรค์ท้องถิ่นของเรา โดยอาศัยเค้าโครงประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษได้แผ้วถางทางไว้ให้แล้ว จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนเพชรบูรณ์ ที่ได้เล่าขานตกทอด มาสานต่อก่องานใหม่กัน และหนังสือเล่มนี้ก็สำเร็จออกมาปรากฏต่อสาธารณชน ประการสำัคัญ ต้องขออภัยต่อพี่น้องบ้านอื่นเมืองอื่น ที่อาจพบหลังฐานและข้อมูลบางอย่างของพ่อขุนผาเมือง อยู่ในท้องถิ่นของท่าน ข้อเท็จจริงอาจเป็นไปได้ เนื่องจากว่าพ่อขุนผาเมืองเป็นนักรบ ต้องเคลื่อนทัพไปตามหัวเมืองต่างๆ มากมาย อาจจะพักทัพอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใด จึงปรากฏหลักฐานขึ้น ขึ้นมาด้วยจิตสำนึก และวิญญาของความเป็นคนไทย เพื่อหล่อหลอมรวมเป็นพลังในการพัฒนาจิตใจของคน ให้รู้จักการเสียสละ อันจะนำไปสู่การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
ขอขอบพระคุณทุกฝ่าย ทุกคน ที่ให้กำลังใจ และร่วมผลักดันให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหลานของคนไทยในอนาคต สืบต่อไป

ดิเรก ถึงฝั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ คนที่ 36
1 กันยายน 2546

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เครื่องทรงนักรบ


อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เครื่องทรงนักรบ ตั้งอยู่ที่ ต.แคมป์สน อ.เข้าค้อ




แผ่นดินนี้ ของกู ผู้สร้างชาติ

ใครบังอาจ คิดร้าย ทำลายหลอน

ลูกหลานกู จะไม่ยอม ให้บั่นทอน

แผ่นดินนอน แห่งนี้ มีชื่อไทย


( ดิเรก ถึงฝั่ง )
ผู้ประพันธ์

พ่อขุนผาเมือง


พ่อขุนผาเมือง

วีรกษัตริย์นอกประวัติศาสตร์ เมืองราด - เพชรบูรณ์