วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

ร่องรอยเมืองราด

เมืองราดตั้งอยู่ที่บ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่องรอยต่างๆ ที่เหลืออยู่คือเจดีย์พ่อขุนผาเมือง เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่พ่อขุนผาเมืองก่อสร้างไว้ เป็นอนุสรณ์แก่พระองค์ท่าน ข้างเจดีย์มีต้นลั่นทมขนาดใหญ่เคียงข้างอยู่ชาวบ้านเรียกกันว่าลั่นทมพันปี มีเรื่องเล่าตอทอดกันมาว่า พ่อขุนผาเมืองเป็นผู้ปลูกลั่นทมนี้ไว้ยุคนั้น ชาวบ้านเรียกลั่นทมว่า “จำปาขาว” ห่างจากเจดีย์ใหญ่ไม่มากนักมีเจดีย์ขนาดเล็กที่สร้างในยุคเดียวกันอีกองค์หนึ่งปัจจุบันเจดีย์ทั้งสองนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ราษฎรได้ช่วยกันบูรณะไว้ ปัจจุบันนี้บริเวณนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนพ่อขุนผาเมืองอุปถัมภ์เจดีย์พระนางสิงขรเป็นเจดีย์เก่าแก่ยุคเดียวกันกับเจดีย์พ่อขุนผาเมืองสร้างเป็นอนุสรณ์แก่พระนางสิงขร ตั้งอยู่บริเวณวัดโพนชัย ห่างจากเจดีย์พ่อขุนผาเมืองไม่มากนัก ขณะนี้เจดีย์องค์นี้ทรุดโทรมมากข้าวสารดำใกล้กับเจดีย์พระนางสิงขรเป็นบริเวณที่พบแหล่งข้าวสารดำ ซึ่งกระจัดกระจายเกลื่อนกลาดอยู่อยู่ในพื้นดิน เมื่อฝนตกหนักชะล้างผิวดิน ข้าวสาดำก็จะผุดขึ้นมาลักษณะเหมือนข้าวสารที่ใช้บริโภคทุกอย่าง แต่เป็นสีดำถ้าใช้มือบีบแรงๆก็จะเป็นผงคล้ายผงถ่านสีดำสนิท ข้าวสารดำนี้ชาวบ้านได้เล่าเป็นตำนานตกทอดกันมาเป็นสองนัยนัยแรก ได้เล่าว่า เมื่อนางสิงขรมหาเทวีเผาเมืองราดนั้น ข้าวสารในพระคลังที่เก็บไว้บริโภค ถูกไฟไหม้จนดำเกรียมและหล่นกระจัดกระจายอยู่บนพื้นดิน การหาข้าวสารดำหาง่ายกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ทั่วไปเป็นที่ประหลาดนักนัยที่สอง เล่าตกทอดกันว่า ข้าวสารดำนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว พ่อขุนผาเมืองถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ เมื่อจะออกศึกครั้งใดพ่อขุนผาเมืองจะนำข้าวสารดำนี้มาปลุกเสกและโปรยเหมือนหว่ายทรายใส่กองทัพ แทนน้ำมนต์เพื่อเป็นกำลังใจและใช้เป็นของขลังในการออกศึก ทางนักธรณีวิทยาบอกว่าข้าวสารดำเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง มีอายุราวสองร้อยล้านปีขึ้นไปเป็นของหายาก มักจะอยู่ในหินปูน แต่ข้าวสารดำเมืองราดหล่นเกลื่อนกลาดอยู่บ้านพื้นดินและบี้ด้วยมือเบาๆ ก็ป่นกลายเป็นผงถ่านแปลกยิ่งนักอุโมงค์พ่อขุนผาเมืองพ่อขุนผาเมืองได้ขุดอุโมงค์ใต้ดินเป็นที่หลบซ่อน เป็นเส้นทางเข้าออกในการโจมตีข้าศึกและการหาข่าว ปัจจบันดินได้พังทลายทับอุโมงค์หมดแล้ว ยังเหลือร่องรอยไว้สำหรับศึกษา ซึ่งชาวบ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวายรู้จักกันเป็นอย่างดี การใช้อุโมงค์เป็นเส้นทางเข้าออกนี้ในยุคสุโขทัยกลายเป็นตำนานเรื่องขอมดำดิน เป็นที่ครั่นคร้ามของคนยิ่งนักคันดินและกำแพงเมืองในยุคพ่อขุนผาเมืองย้ายเมืองนครเดิดมาสร้างเมืองราดนั้น เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างศึกสงคราม การสร้างบ้านแปงเมืองคงใช้คันคูดินเป็นแนวป้องกันข้าศึก พ่อขุนผาเมืองได้สร้งกำแพงด้วยอิฐไว้บางส่วน แต่น่าเสียดายที่ซากก้อนอิฐที่หักพังชาวบ้านได้นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเสียสิ้นนครเดิดขณะนี้ได้ค้นพบคันคูเมือง กำแพงเมืองนครเดิที่ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสักถึง 4 แห่ง บางส่วนยังจมอยู่ในดิน กรมศิลปากรยังไม่ได้สำรวจขุดค้นอย่างจริงจังโบราณวัตถุบริเวณบ้านห้วยโป่ง มีผู้คนขุดพบเครื่องใช้สมัยสุโขทัยจำนวนไม่น้อย แต่ไม่มีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้เมืองศรีเทพเมืองศรีเทพตั้งอยู่ในเขต อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นชุมชนโบราณ มีอายุประมาณ 2,000 ปี มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีหลักฐานแห่งความเจริญมากมาย ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เทวรูป พระพุทธรูป ซึ่งเป็นศิลปสมัยทวาราวดี มีทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ตัวเมืองมีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตี เมืองศรีเทพเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองคือ พ่อขุนผาเมืองมีพระราชประสงค์จะยกทัพเข้าตีเมืองศรีเทพเพื่อขับไล่ขอมไม่ให้มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้แต่บังเอิญพระราชบิดา คือพ่อขุนศรีนาวนัมถมสวรรคตเสียก่อน พ่อขุนผาเมืองจึงจำเป็นต้องยกทัพไปกู้เมืองสุโขทัยไว้ ณ เมืองศรีเทพนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทำพิธีหล่อพระพุทธรูปศิลปลพบุรีที่มีชื่อภายหลังว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” มอบให้แก่พ่อขุนผาเมืองไว้เป็นพระประจำพระองค์ ปัจจุบันนี้พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น: